fbpx skip to Main Content
ลิเธียมฟอสเฟต นิยมใช้ในงานอะไรบ้าง?

ลิเธียมฟอสเฟต นิยมใช้ในงานอะไรบ้าง?

  • News

ลิเธียมฟอสเฟต นิยมใช้ในงานอะไรบ้าง?

แบต LFP ส่วนมากนำไปใช้งานกับงานร่วมกับ Application หรืออุปกรณ์อะไรบ้าง?

          แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต (LiFePO4 , LFP , IFR) นั้นมีข้อดีอย่างไร ทำไมจึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น รวมไปถึงข้อจำกัดในเรื่องของระบบการชาร์จไฟ
และแผงวงจรควบคุมหรือ BMS ที่ต้องมีเพื่อใช้ทำงานร่วมกับตัวแบตเตอรี่เสมอ

ในทีนี้จะขอแนะนำเพิ่มเติมในส่วนของการนำไปใช้งาน ปัจจุบันแบต LFP ส่วนมากนำไปใช้งานกับงานร่วมกับ Application หรืออุปกรณ์อะไรบ้าง?

          ถ้าพูดถึงเฉพาะตัวเซลล์แบตเตอรี่ ตัวเซลล์แบต LFP นั้นสามารถรองรับการใช้งานได้หลากหลาย Application เลยทีเดียว โดยปัจจุบันแบตเตอรี่ LFP
ที่ผลิตขายทั่วไปตามท้องตลาด ส่วนใหญ่มักออกแบบสำหรับใช้ ในงาน PV หรือกลุ่มงานโซล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นหลัก เนื่องจากกลุ่มโซล่าเซลล์นี้เป็นงานที่

  • ต้องการความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมสูง
  • อายุการใช้งานที่ยาวนาน สามารถใช้งานได้ในแบบ Deep Discharge

          นอกจากนี้ LFP ยังถูกนำไปใช้งานในลักษณะของ Energy Storage หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คือมักนำไปใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องมีการใช้งานเป็นรอบ
หมายถึงมีการชาร์จไฟเข้าไปเก็บในตัวแบตเตอรี่ และถูกนำมาใช้งาน และภายหลังการใช้งานจะถูกนำกลับไปชาร์จ ลักษณะวนลูปแบบนี้
ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม   EV , รถกอล์ฟ , รถไฟฟ้า , E-bike , Marine , รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Folklift) , Robotic , AGV (Automated Guided Vehicles)

          นอกจากลุ่มที่ได้กล่าวถึง แบต LFP ยังมี กลุ่มที่ผลิตเพื่อใช้สำหรับทดแทนแบตเตอรี่รถยนต์ (starter battery) ซึ่งสามารถจ่ายไฟได้แรง และมีความทนทานสูง
เรียกได้ว่า เปลี่ยนแบตครั้งเดียวใช้กันจนเปลี่ยน รถเลยทีเดียว

กลุ่มถัดมาที่เริ่มมีการใช้งานบ้างแล้ว คือ

  • กลุ่ม UPS ขนาดใหญ่
  • แบตเตอรี่สำรองไฟในระบบสื่อสาร
  • กลุ่มแบตสำรองไฟในห้อง IT Server
  • ในกลุ่มของนัก DIY ที่มีการแปลงจากแบตเตอรี่แบบเดิมๆ มาใช้เป็น LFP แทน

          แต่ทั้งนี้ในการใช้งานแบตเตอรี่ LFP ร่วมกับอุปกรณ์ใดๆ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความเข้าใจ และสามารถดูสเปคของอุปกรณ์ รวมถึงสเปคของตัวแบต ว่าสามารถ
ใช้งานร่วมกันได้หรือไม่ หากไม่ทราบให้ติดต่อสอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้ เพราะแบต LFP ไม่สามารถดูแค่ Volt (แรงดันไฟฟ้า) และ Ah (ความจุไฟฟ้า)
แล้วนำไปต่อใช้งานได้ จะต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกด้วยครับ

สอบถามหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/GlobalPowerBatt
https://www.gmeshcomm.com
หรือ Line : @GMESH-COMMU นะครับ

×Close search
Search